บทความ เรื่อง : ยอมขายหุ้นคืน12เปอร์เซ็นต์ อากู๋แพ้มติชน แผนเทคโอเวอร์สื่อพังครืน
   


บทความเลขที่ 431
คนสร้างบทความ :
w
วันที่ตั้งบทความ :
2005-09-19
คะแนนบทความ :
1024(เฉพาะเดือนนี้ )
จำนวนคนอ่าน :
2947(เฉพาะเดือนนี้ )
   


ยอมขายหุ้นคืน12เปอร์เซ็นต์ อากู๋แพ้มติชน แผนเทคโอเวอร์สื่อพังครืน

------------------------------------------------------------------------------------------------
ยอมขายหุ้นคืน12เปอร์เซ็นต์ อากู๋แพ้มติชน แผนเทคโอเวอร์สื่อพังครืน
[Update 17 ก.ย. 2548]
ผู้บริหารนสพ.รับได้เลิกต่อต้านแกรมมี่ นักวิชาการเตือนแค่กลุ่มทุนถอยตั้งหลัก คิวโพสต์ระส่ำสุทธิเกียรติจับมือไพบูลย์ แผนฮุบกิจการ-พนักงานเตรียมลุกฮือสู้

เหยื่อรายต่อไป : หนังสือพิมพ์บางกอก โพสต์คาดว่าจะเป็นเหยื่อ รายต่อไปที่จะถูก ฮุบกิจการ เมื่อเริ่มมีข่าว ว่าผู้บริหารบริษัทเครือ แกรมมี่เตรียมจับมือกับ นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่คนหนึ่งของบางกอกโพสต์เพื่อ ยึดอำนาจบริหารอย่าง เบ็ดเสร็จเด็ดขาด


ในที่สุดการเจรจาการซื้อหุ้นบริษัท มติชน จำกัด(มหาชน)หรือ MATI ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) และบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชน)ได้ข้อยุติแล้ว เมื่อฝ่ายแกรม มี่ ยอมขายหุ้น 12 เปอร์เซ็นต์ คืนให้ผู้ถือหุ้นเดิมของมติชน ส่งผลให้แกรมมี่คงซื้อหุ้นของมติชน เพียงร้อยละ 20 จากเดิม ที่ถือไว้ในสัดส่วน 32.23 เปอร์เซ็นต์ และตั้งเป้าจะยึดครองให้ได้ถึง 75 เปอร์เซนต์ในอนาคต จนถูกต่อต้านอย่างหนัก

มติชนเฮลั่น-แกรมมี่ยอมถอย
โดยเมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 16 กันยายน นายขรรค์ชัย บุนปาน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ของบริษัทมติชน แถลงการณ์ร่วมกับนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม หรืออากู๋ ประธานกรรมการบริหาร ของบริษัทจีเอ็มเอ็มว่า ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นในมติชน ตลอดจนแนวทางการเป็นพันธมิตรในการทำ
ธุรกิจสื่อร่วมกันในอนาคต
ประเด็นสำคัญของข้อตกลงคือ กลุ่มแกรมมี่จะถือหุ้นในมติชนไม่เกินร้อยละ 20 โดยจะขาย หุ้นในส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 20 ให้กับนายขรรค์ชัย บุนปาน ในราคาหุ้นละ 11.10 บาท ซึ่งเป็น ราคาที่แกรมมี่ได้มา อันจะทำให้นายขรรค์ชัย มีหุ้นเพิ่มจากร้อยละ 24 เป็นร้อยละ 36 ซึ่งทำให้ นายขรรค์ชัยเป็นผู้มีหน้าที่ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์มติชนในราคาหุ้นละ 11.10 บาท

"ขรรค์ชัย"ชมอากู๋ไม่เอากำไร
สำหรับโครงสร้างการบริหารงานนั้น นายขรรค์ชัยกล่าวว่า การบริหารงานทั้งหมด ของมติชนจะยังคงอยู่ภายใต้ผู้บริหารชุดเดิม และทางมติชนยินดีให้ทางแกรมมี่เข้าร่วมเป็นคณะ กรรมการของบริษัทด้วยในเวลาที่เหมาะสม

"รู้สึกยินดีที่ทางแกรมมี่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนกับมติชนตามเงื่อนไขที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันด้วย ดี เชื่อว่าในอนาคตทางมติชนกับแกรมมี่น่าจะเป็นพันธมิตรในการทำหน้าที่สื่อที่ดีและต้องขอกล่าวชื่น ชมนายไพบูลย์ ที่ตกลงยอมขายหุ้นให้กับทางกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของมติชนในราคาต้นทุนโดยไม่เอากำ ไรแม้แต่บาทเดียว"นายขรรค์ชัย กล่าว

ขอบคุณมติชนให้เป็นพันธมิตร
ด้าน นายไพบูลย์ หรืออากู๋ กล่าวว่า ต้องขอบคุณนายขรรค์ชัย เช่นกันที่ได้ให้เกียรติทาง แกรมมี่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับหนังสือพิมพ์ที่มีรากฐานและความน่าเชื่อถือมายาวนาน ซึ่งเรายัง ขอยืนยันเจตนารมณ์เดิมของเราว่าจะเป็นพันธมิตรที่เคารพในจิตวิญญาณสื่อมวลชน เชื่อมั่นในบท บาทของสื่อมวลชน มิได้มีความมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนจุดยืนของสื่อมวลชนดังที่ได้เคยชี้แจงมาแล้ว

นายไพบูลย์กล่าวว่า การที่ในที่สุดแกรมมี่ตัดสินใจว่าจะมีสัดส่วนการถือหุ้นในมติชนไม่เกิน ร้อยละ 20 นั้น เนื่องจากทางฝ่ายเจ้าบ้าน หรือทางมติชนได้แจ้งว่า ไม่สบายใจ เราเองอยาก ให้เจ้าบ้านสบายใจและทำงานอย่างมีความสุข เนื่องจากเราลงทุนด้วยความชื่นชมต่อฝีมือคณะทำ งานเดิมอยู่แล้ว

วาดโครงการต่อยอดธุรกิจ
"การลงทุนครั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าหนังสือพิมพ์มติชน มีความเป็นผู้นำในหมวดอุตสาหกรรมสิ่ง พิมพ์ของหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อรวมกับสื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ประเภทนิตย สาร พอคเกตบุค และการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่บริษัทมีอยู่แล้ว จะทำให้สามารถตอบสนอง ลูกค้าได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและสามารถเป็นรากฐานในการขยายธุรกิจของบริษัทให้เติบโตอย่างรวด เร็วและมั่นคงยิ่งขึ้น"นายไพบูลย์ กล่าว

แกรมมี่ยันภาพพจน์ไม่เสียหาย
ส่วนนายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการจีเอ็มเอ็ม กล่าวว่า ยินดีที่การเจรจาได้ข้อยุติ ด้วยดี และบริษัทต้องการจะถือหุ้นมติชนแบบลงทุนระยะยาว จึงยังไม่ได้พิจารณาที่จะเปลี่ยนมือใคร

"สาเหตุที่เราลดสัดส่วนการถือหุ้น เพราะจุดยืนของเรา การเข้าไปถือหุ้นใคร เจ้า ของบ้านต้องสบายใจ ไม่รู้สึกอึดอัด แต่ที่ผ่านมา กระบวนการต่างๆ เกิดขึ้นเร็ว แต่เมื่อมานั่ง คุยกันแล้ว ทำความใจกันแล้ว ก็ได้ข้อยุติด้วยดี" นายสุเมธกล่าวและว่า ส่วนการกู้เงินธนาคาร ไทยพาณิชย์ 2.2 พันล้านบาท ยังไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งบริษัทจะนำเงินจำนวนนี้ไว้ใช้เพื่อการลงทุน

นายสุเมธยังกล่าวอีกว่า จากเหตุการณ์ครั้งนี้ มองว่าภาพพจน์ของแกรมมี่ไม่ได้เสียหาย เพราะการซื้อหุ้นเป็นเรื่องทางธุกริจ เป็นการซื้อหุ้นโดยไม่ได้ซื้อจิตวิญญาณของสื่อ และไม่คิดจะทำ ให้มติชนเกิดความเสียหาย

เผยขรรค์ชัยควัก1.3พันล.ซื้อคืน
ด้าน ม.ร.ว.ศศิพฤนท์ จันทรทัต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.กรุงศรีอยุธยา ในฐานะที่ ปรึกษามติชน กล่าวว่า การเทนเดอร์ฯหุ้น MATI ของนายขรรค์ชัยนั้น บริษัทจะเป็นตัวแทนจัดทำ คำเสนอซื้อและตัวแทนซื้อหุ้น โดยจะยื่นแบบแสดงเจตนารับซื้อหุ้น ภายในวันที่ศุกร์หน้า ซึ่งราคา เทนเดอร์จะกำหนดอีกครั้ง
"แต่หากเป็นราคาที่ 11.10 บาท นายขรรค์ชัยจะต้องใช้เงินประมาณ 1.3 พันล้านบาท ในการซื้อหุ้นทั้งที่จะซื้อคืนจากจีเอ็มเอ็ม และการทำเทนเดอร์ฯ ซึ่งบล.กรุงศรีฯ จะจัดหาแหล่ง เงินทุนให้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มี"ม.ร.ว.ศศิพฤนท์ กล่าว

วันจันทร์ซื้อขายหุ้น3บริษัทปกติ
ก่อนหน้านี้ ทางมติชน แกรมมี่ และจีเอ็มเอ็ม มีเดีย ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย(ตลท.)เพื่อขอหยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ของทั้งสามบริษัท เพื่อให้นักลงทุนและผู้ถือหุ้นของทั้ง สามบริษัทได้รับข่าวสารอย่างทั่วถึง โดยทางบริษัทคาดว่าหุ้นของทั้งสามบริษัทจะสามารถกลับมาซื้อ ขายได้เป็นปกติในวันจันทร์ที่ 19 กันยายน นี้

ทั้งนี้ รายละเอียดของข้อตกลงดังกล่าวขึ้นอยู่กับมติของคณะกรรมการของบริษัท จีเอ็มเอ็ม เนื่องจากเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งคาดว่าจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรม การบริษัทภายในวันที่ 18 กันยายน 2548

ขณะที่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์(ตลท.) กล่าวว่า หากทั้ง 3 บริษัทแจ้งข้อมูลรายละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษร มายังตลท.ก่อนเวลา 09.30 น.ของ วันจันทร์ที่ 19 กันยายน ตลท.จะนำมาพิจารณาเป็นเหตุผลสำหรับเปิดการซื้อขายหุ้นตามปกติได้

"ฐากูร"ย้ำจุดยืนสื่อในเครือมติชน
นายฐากูร บุนปาน กรรมการ MATI กล่าวว่า หลังวันนี้ ซึ่งกลุ่มนายขรรค์ชัยจะเป็นผู้ถือหุ้น ใหญ่ MATI บริษัทยังไม่ได้พิจารณาเรื่องการออกจากตลาดหลักทรัพย์ และยืนยันว่าในช่วงที่รา คาหุ้น MATI ปรับขึ้นสูง กลุ่มนายขรรค์ชัยไม่ได้เข้าซื้อหุ้นในตลาด

ส่วนกรณีจะให้ทางแกรมมี่เข้าเป็นกรรมการหรือไม่ นายฐากูรกล่าวว่า จะพิจารณา ตามความเหมาะสม ซึ่งแกรมมี่ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะร่วมกับทุกฝ่าย และจะไม่มีการเปลี่ยน แปลงนโยบายการบริหารงานของหนังสือพิมพ์

ชาวมติชนพอใจเลิกเคลื่อนไหว
ด้านปฏิกิริยาของฝั่งผู้บริหาร และพนักงานมติชนหลังแกรมมี่ยอมลดสัดส่วนการถือหุ้นเหลือ 20 เปอร์เซ็นต์ นั้น นายพิเชียร คุระทอง โฆษกกองบรรณาธิการเครือมติชน ให้สัมภาษณ์ว่า พนัก งานของมติชน มีความพึงพอใจกับการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นครั้งนี้ จึงจะไม่มีการ เคลื่อนไหวใดๆ อีก แต่จะมุ่งมั่นทำงานตามแนวทางเดิมของมติชนต่อไป

นายพิเชียรกล่าวว่า วันนี้เครือแกรมมี่ยอมเป็นผู้ถือหุ้นเสียงส่วนน้อยไปแล้ว ขอเรียนว่า เครือแกรมมี่จะต้องไม่มายุ่มย่ามในการทำงานของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับของ เครือมติชนโดยเด็ดขาด

แต่เตือนอย่ามายุ่มย่ามกองบก.
"เครือแกรมมี่จะทำได้เพียงเงินปันผลประจำปีเท่านั้น และขอให้อยู่ห่างๆ ไว้ หากเครือ แกรมมี่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการทำงานของกองบรรณาธิการอีก ขอให้เครือแกรมมี่เดินออกไปไกลๆ เลย และขอยืนยันว่ากองบรรณาธิการของ นสพ. 3 ฉบับ ของเครือมติชน ยังทำงานตามปกติเช่นเดิมต่อ ไป”"นายพิเชียร กล่าว

เมื่อถามว่า มีการวิจารณ์กันมากว่ามีผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลัง การซื้อหุ้นมติชน นายพิเชียร กล่าวว่า ตนเรียนไปตั้งแต่ต้นแล้วว่าการเคลื่อนไหวของเครือแกรมมี่ในครั้งนี้ อาจจะเป็นเจตนา ของใครบางคนที่จะปั่นหุ้นมติชน ก็เป็นได้และได้เตือนนักลงทุนรายย่อยไปแล้วว่าระวังการปั่นหุ้นให้ ดีและอย่าเข้ามายุ่ง หากจะขายหุ้นมติชนก็ขอให้ขายให้นายขรรค์ชัยเท่านั้น

พิมพ์เสื้ออย่าทำช้างเจ็บปลุกขวัญ
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่อาคารมติชน ย่านประชาชื่น ในวันนี้ว่าพนักงานยังมาทำ งานตามปกติ และในชั้นล่างของอาคารนั้นมีการแจกเสื้อยืดยี่ห้อแอร์โรว์ ที่สกรีนรูปช้างและตัว อักษรว่า "อย่าทำช้างเจ็บ" เพื่อให้พนักงานนำไปสวมใส่เพื่อให้กำลังใจผู้บริหารเครือมติชน ขณะ เดียวกัน มีประชาชนทยอยเดินทางมาเขียนข้อความให้กำลังใจเครือมติชนในครั้งนี้เป็นระยะๆ

แบงก์ชาติรับปล่อยกู้มีความเสี่ยง
ด้าน นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประ เทศไทย(ธปท.)กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทจีเอ็มเอ็มวงเงิน 2,200 ล้านบาท เพื่อนำไปซื้อหุ้นมติชนว่าหากมองในฐานะผู้ตรวจสอบสถาบันการเงินนั้นการปล่อยกู้ ดังกล่าวก็ถือว่ามีความเสี่ยง เพราะผลตอบแทนขึ้นอยู่กับราคาหุ้นว่าจะมีราคาสูงหรือต่ำ

"หากถามแบงก์ชาติในฐานะผู้กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และผู้ตรวจสอบว่าเสี่ยงหรือไม่ ก็ถือ ว่ามีความเสี่ยง เนื่องจากการกู้ดังกล่าวเป็นการนำไปซื้อหุ้น ซึ่งผลตอบแทนขึ้นอยู่กับราคาหุ้นว่าสูง ต่ำแค่ไหนซึ่งมีความแตกต่างกับการนำเงินกู้ไปทำธุรกิจที่มีรายได้เข้ามามากกว่า"นางธาริษา กล่าว

เชื่อแกรมมี่อาจแค่ถอยตั้งหลัก
ในขณะที่ฝ่ายนักวิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชน(เอ็นจีโอ) มองกลุ่มแกรมมี่ยอมลดสัดส่วน ถือหุ้นในมติชนอาจเป็นการยอมถอยเพื่อตั้งหลัก และจะกลับเข้ามาใหม่โดยวิธีการที่แยบยลกว่าเดิม

โดย นายเจษฎ์ โทณะวนิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ให้ความเห็นว่า อาจ เป็นการถอยเพื่อตั้งหลัก เช่นเดียวกับพฤติกรรมโยนหินถามทาง เมื่อครั้งที่รัฐบาลต้องการซื้อทีม ฟุตบอลลิเวอร์พูล โดยเป็นความพยายามที่จะซื้ออย่างจริงจัง แต่ก็พร้อมชะลอเมื่อมีกระแสคัดค้าน

"จีเอ็มเอ็ม จะกลับมาอีกครั้งแน่ แต่เชื่อว่าวิธีการซื้อหุ้นจะไม่ตูมตามแต่จะแยบยลกว่านี้ เช่นอาจจะให้คนอื่นๆ เข้ามาถือครองคนละเล็กๆ น้อยๆ เรื่อยๆ จนได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เพราะว่า ครั้งนี้คงได้บทเรียนแล้วว่า การเข้ามาอย่างโครมครามมันไม่ได้ประโยชน์" นายเจษฎ์ กล่าว

ระวังนายทุนจะกลับเข้ามาใหม่
ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เชื่อเช่นเดียวกันว่าแกรมมี่จะกลับเข้ามาใหม่ ด้วยวิธีการที่รอบคอบกว่าเดิมในการซื้อหุ้นสื่อ พร้อม กับเรียกร้องให้ก.ล.ต.จับตาดูการเข้าถือหุ้นในลักษณะที่เป็นการทยอยซื้อของรายย่อย ที่อาจนำไป สู่การรวมเป็นหุ้นใหญ่ และเป็นการรวบอำนาจบริหาร

น.ส.สายรุ้ง ทองปลอน ผู้จัดการสหพันธ์องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค(สอบ.) กล่าวว่า การถอยของแกรมมี่ครั้งนี้น่าจะเกิดจากกระแสสังคมที่ไม่ยอมรับการทำธุรกิจแบบนี้ เหตุการณ์นี้พิสูจน์ ได้ว่าคนไทยไม่ยอมให้นายทุนธุรกิจหรือนายทุนการเมือง ใช้เงินเข้าไปฟาดหัวแล้วยึดธุรกิจใคร ก็ได้ตามใจ แต่สังคมมีหลักมีกติกา มีความเหมาะสมที่ทุกคนต้องยึดถือ

ทั้งนี้ ต่อไปนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯควรจะมีระเบียบหรือกฎเกณฑ์ป้องกันการซื้อขายหุ้นในกลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ไม่ให้เกิดการผูกขาดของนายทุนธุรกิจการเมือง และยังถือเป็นบทเรียนของ หนังสือพิมพ์ที่จะเข้าไประดมทุนในตลาดหุ้น ต้องใช้กรณีมติชนเป็นบทเรียน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดการ เปลี่ยนมือได้

อากู๋จับมือสุทธิเกียรติยึดโพสต์
นอกจากนี้ ยังมีรายงานแจ้งว่า หลังจากนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม และบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ยอมขายหุ้นคืนให้มติชน 12 เปอร์เซ็นต์ โดยจะถือเพียง 20 เปอร์เซ็น นั้น แหล่งข่าวจาก บางกอกโพสต์แจ้งว่า นายไพบูลย์ ได้ติดต่อ นายสุทธิเกียรติ เพื่อจับมือกันเข้าไปบริหาร บริษัท โพสต์พับลิชชิ่ง เจ้าของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และโพสต์ทูเดย์ ซึ่งนายไพบูลย์ ตกลงถือหุ้น 23.60 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่นายสุทธิเกียรติ ถือ 24.0 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เมื่อ 2 กลุ่มรวมกันกลายเป็น ผู้ถือหุ้นในสัดส่วนที่มากที่สุดของโพสต์

พนักงานเตรียมเคลื่อนไหวต้าน
รายงานแจ้งว่า เรื่องนี้ทำให้พนักงาน หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และโพสต์ทูเดย์ ไม่พอใจ อย่างมาก เพราะบรรณาธิการข่าวและผู้บริหารบางคน ไม่สนใจเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านกลุ่มทุนที่จะ เข้ามายึดการบริหารหนังสือพิมพ์ แตกต่างจากบริษัทในเครือมติชนที่มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ทั้งนี้ คนในบางกอกโพสต์ยังสับสนในทิศทาง เพราะทางหนึ่งหากออกมาเคลื่อนไหวต้าน กลุ่ม แกรมมี่ของนายไพบูลย์ จะกลายเป็นว่าไปต้านทุนกลุ่มใหม่ให้กลุ่มเก่าของนายสุทธิเกียรติ เพราะ ที่ผ่านมา พนักงานบางกอกโพสต์ก็ไม่พอใจนายสุทธิเกียรติ กรณีปลด นายเสริมสุข กษิตประดิษฐ์ อดีตบรรณาธิการด้านความมั่นคง ดังนั้น เมื่อนายไพบูลย์ จับมือกับนายสุทธิเกียรติได้ ทำให้พนัก งานบางกอกโพสต์และโพสต์ทูเดย์ เตรียมเคลื่อนไหวต่อต้าน ซึ่งนายไพบูลย์และนายสุทธิเกียรติ กำ หนดจะพบกันในวันที่ 20 กันยายน นี้

โพลล์เชื่อการเมืองอยู่เบื้องหลัง
วันเดียวกัน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทุกสาขาอาชีพ จำนวน 1,270 ตัวอย่าง ที่ติดตามข่าวการซื้อหุ้นมติชนและโพสต์ ปรากฏว่าส่วน ใหญ่เชื่อว่ามีการเมืองแทรกแซงอย่างแน่นอน

ส่วนความคืบหน้ากรณีช่อง 9 อสมท สั่งถอดรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์" ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของหนังสือพิมพ์ในเครือผู้จัดการนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีองค์กรวิชาชีพด้านสื่อ สารมวลชน และภาคประชาชน เดินทางไปมอบดอกไม้ให้กำลังใจนายสนธิ เป็นจำนวนมาก

ขณะที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้กำกับดูแล อสมท แต่ไม่ทราบ เรื่อง แต่คิดว่าคงไม่เกี่ยวกับกรณีที่นายสนธิไปวิพากษ์วิจารณ์เรื่องพระราชอำนาจ อาจเป็นเหตุ ผลอื่นที่ถูกปลดจากผังรายการมากกว่า

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว.กทม. ก็กล่าวว่า วันนี้การแทรกแซงสื่อกลายเป็นปัญหา ชาวบ้านไปแล้วเนื่องจากกลุ่มทุน หรือรัฐบาลต้องการปิดหูปิดตา หรือครอบงำความคิดประชาชนซึ่ง ถือเป็นเรื่องอันตรายของบ้านเมือง ศิลปินบุกรังแกรมมี่ต้านซื้อมติชน

อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาต่อต้านแกรมมี่ ก่อนหน้าที่ผู้บริหารทั้ง 2 ฝ่ายจะบรรลุข้อตกลงในสัด ส่วนผู้ถือหุ้นกันได้นั้น เมื่อตอนสายวันเดียวกันกลุ่มศิลปินเพื่อประชาธิปไตย นำโดยนายวสันต์ สิทธิ เขต เดินทางไปที่อาคารจีเอ็มเอ็ม พร้อมชูป้ายคัดค้านการยึดครองกิจการมติชน และเชื่อว่ามีอำ นาจการเมืองอยู่เบื้องหลัง

เช่นเดียวกับเครือข่ายประชาชนภาคเหนือ 10 กลุ่ม ได้แก่ สื่อภาคประชาชนภาคเหนือ สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เครือข่ายเด็กและเยาวชน ฯลฯ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ก็ได้จัดแถลงข่าวขึ้นที่ มช. คัดค้านแกรมมี่ โดยเห็นว่าเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ และยัง จะทำให้เกิดผูกขาดความคิดโดยกลุ่มทุน และฝ่ายการเมือง

ขณะที่ น.ส.วนิดา ตั้งจิตสมคิด บรรณาธิการข่าวกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อ่างแก้ว หนัง สือพิมพ์ฝึกปฏิบัติการของนักศึกษาภาควิชาสื่อสารมวลชน มช. ก็เชื่อว่ามีเบื้องหลังแอบแฝง

ส่วนที่ จ.นคราชสีมา ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัด เครือข่ายประชาชนแห่งประเทศไทย และเครือข่ายประชาชนอีสาน ประมาณ 150 คน ได้เดินขบวนเรียกร้องให้มีการตรวจสอบธนา คารไทยพาณิชย์ กรณีปล่อยเงินกู้ให้แกรมมี่ซื้อหุ้นมติชน พร้อมกับไม่เห็นด้วยกับการเข้ายึดกิจการหนัง สือพิมพ์ครั้งนี้

นางเมตตา ดีเจริญ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวว่า การซื้อหุ้นครั้งนี้ ในมุมมองของนักวิชาการถือว่าเป็นสิ่งที่แปลก ต้องมีการตรวจสอบว่าทำไม แกรมมี่ต้องการซื้อหุ้นเป็นจำนวนมาก และคณะนิเทศศาสตร์จะนำเรื่องนี้ไปเป็นกรณีศึกษาสำหรับ การเรียนการสอน ให้นักศึกษาได้ศึกษาผลกระทบของการครอบงำสื่อ


ยังไม่มีคำวิจารณ์ สำหรับ บทความนี้

คนตั้ง  : 
อีเมล์ :
คำวิจารณ์  : 
ยืนยัน
   
วันที่ตั้งกระทู้  : 
19-04-2024


เวป หางาน ค้นหางาน ตำแหน่งงาน พนักงาน ejobonline.com