บทความ เรื่อง : น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือมีรูโหว่เป็นครั้งแรกในรอบ55 ล้านปี
   


บทความเลขที่ 212
คนสร้างบทความ :
poy
วันที่ตั้งบทความ :
2004-11-22
คะแนนบทความ :
1486(เฉพาะเดือนนี้ )
จำนวนคนอ่าน :
5048(เฉพาะเดือนนี้ )
   


น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือมีรูโหว่เป็นครั้งแรกในรอบ55 ล้านปี

------------------------------------------------------------------------------------------------
น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือมีรูโหว่เป็นครั้งแรกในรอบ55 ล้านปี



อุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้นทำให้เกิดรูโหว่ของน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ รายงานจากดาวเทียมระบุว่า ความหนาของน้ำแข็งได้บางลงมากกว่า 40% เมื่อเทียบกับ 50 ปีที่แล้ว ครั้งสุดท้ายที่น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลายเป็นน้ำเกิดขึ้นเมื่อ 55 ล้านปีที่แล้ว ในยุคที่เรียกว่า Eocene ซึ่งอากาศของโลกอบอุ่นกว่านี้มาก บริเวณขั้วโลกเต็มไปด้วยน้ำและป่า เชื่อกันว่าบริเวณ Artic น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าบริเวณอื่นๆ ของโลก สังเกตได้จากอุณหภูมิที่เพิ่มข้ึนเร็วกว่าบริเวณอื่น 3 ถึง 5 เท่า น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือกำลังละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้นักอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่า ภายใน 50 ปีมันจะหายไปในช่วงหน้าร้อน จะทำให้เกิดการเสียหายของชีวิตสัตว์ที่อาศัยอยู่บนขั้วโลกเหนือ ขณะนี้มีรายงานว่า หมีขั้วโลกกำลังน้ำหนักลดเนื่องจากขาดแคลนอาหารและแมวน้ำก็มีจำนวนน้อยลง น้ำแข็งที่อยู่ทางเหนือของอลาสกา และแคนาดาก็กำลังละลายด้วยเช่นกัน


ปกติแล้วน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือจะมีความหนา 3 ถึง 10 เมตร เมื่อน้ำแข็งบางลงเป็นผลให้แสงแดดสามารถผ่านทะลุลงไปได้ นักวิทยาศาสตร์รายงานว่ามีการพบนกนางนวลเป็นครั้งแรกที่นั่น ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส และ 8 ใน 10 ของปีที่ร้อนที่สุดเกิดขึ้นในช่วง 20 ปีที่แล้ว



ยังไม่มีคำวิจารณ์ สำหรับ บทความนี้

คนตั้ง  : 
อีเมล์ :
คำวิจารณ์  : 
ยืนยัน
   
วันที่ตั้งกระทู้  : 
03-12-2024


เวป หางาน ค้นหางาน ตำแหน่งงาน พนักงาน ejobonline.com