บทความเลขที่
93 |
|
คนสร้างบทความ : |
นาย หิว |
วันที่ตั้งบทความ : |
2004-01-18 |
คะแนนบทความ : |
1233(เฉพาะเดือนนี้ ) |
จำนวนคนอ่าน : |
3957(เฉพาะเดือนนี้ ) |
มุ่งสาวรุ่นวัย11-15 เป้าข่มขืนเน้นนุ่งสั ------------------------------------------------------------------------------------------------ |
มุ่งสาวรุ่นวัย11-15 เป้าข่มขืนเน้นนุ่งสั้น-สายเดี่ยว เลือกเหยื่อหน้าตาดีนุ่งสั้น-สายเดี่ยวสำรวจ12เรือนจำ"พ่อ-ลุง-น้า"เต็มคุกก่อเหตุกับลูกหลาน ตะลึงข้อมูลหื่นจาก 444 ผู้ต้องหาคดีทางเพศ ระบุหญิงสาววัยแรกรุ่นอายุ 11-15 ปี ตกเป็นเป้าข่มขืนมากที่สุด ชี้หญิงสาวหน้าตาดี แต่งกายล่อแหลม รัดรูป นุ่งสั้น ใส่เกาะอก และสายเดี่ยวสุดเสี่ยงตกเป็นเหยื่อ เผยพ่อ-ลุง-น้าก็อย่าวางใจ โดยเฉพาะพวกที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ติดเหล้าหรือยาเสพติด เมื่อวันที่ 15 ม.ค. นางจุฑารัตน์ เอื้ออำนวย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการจัดทำโครงการวิจัย "ผู้หญิงไทยกับภัยจากอาชญากรรมทางเพศ" โดยการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ผู้กระทำผิดทางเพศคดีข่มขืนในเรือนจำต่างๆ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 12 แห่ง รวม 444 ราย และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้กระทำผิดทางเพศจำนวน 10 ราย และเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ จำนวน 7 ราย พบว่าผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นหนุ่มโสด มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ ระดับการศึกษาต่ำ ขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา ไม่ผูกพันกับบทบาทหน้าที่ทางสังคมของตน โดยเฉพาะในฐานะบิดา ลุง น้า ที่มีต่อบุตรและหลานสาวในฐานะ "ผู้ชาย" และ "ผู้ใหญ่" ของสังคม และมีความบกพร่องในการควบคุมความต้องการ และยับยั้งชั่งใจ ขาดมุทิตาจิตต่อเหยื่อ การกระทำความผิดหรือแสดงพฤติกรรมสำส่อนมักผ่านการเสพสุราและยาเสพติด "ส่วนผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ คือ กลุ่มเด็กหญิงแรกรุ่น อายุระหว่าง 11-15 ปี ทั้งนี้นักเรียนนักศึกษาถูกข่มขืนที่บ้านเพื่อนหรือบ้านคนรู้จักโดยคนรัก เพื่อนหรือคนรู้จักในช่วงเวลา 22.01-02.00 น. ซึ่งผู้กระทำผิดทางเพศจะสนใจเด็กผู้หญิงที่มีรูปร่างหน้าตาดี แต่งกายล่อแหลม นุ่งสั้น รัดรูป สายเดี่ยวหรือเกาะอก และไม่ระมัดระวังตัว ดังนั้นวิธีการป้องกันภัยข่มขืน คือ การทำความเข้าใจร่วมกันของคนในสังคม โดยจำเป็นต้องเร่งสร้างทัศนคติและการกระทำร่วมกัน เพื่อทำให้ผู้หญิงไม่ตกเป็นเหยื่อโดยง่าย" นางจุฑารัตน์ระบุ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ระบุด้วยการให้องค์กรเอกชนหน่วยต่างๆ แก้ปัญหาโดยลำพังอาจไม่สมบูรณ์นัก เพราะศูนย์เหล่านี้ช่วยสอนให้ผู้หญิงป้องกันตนเองมิให้ตกเป็นเหยื่อได้ดี แต่ "การลงโทษ" โดยหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ส่งผลให้เกิดการข่มขู่ยับยั้งการกระทำผิดได้ ซึ่งผู้ข่มขืนยังไม่ได้รับการบำบัดพฤติกรรมทั้งในและนอกระบบ ที่จะสร้างความเชื่อมั่นว่าจะไม่ออกมากระทำผิดซ้ำอีก - ข่าวสด |